กลุ่ม/ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน

 

• นอกจากอาเซียนจะเปนสมาคมที่ใหสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ไดเสริมสรางความสัมพันธอันดีระหวางกันผานกรอบความรวมมือตางๆ แลว อาเซียนยังมีโครงการความรวมมือในสาขาตางๆ กับ            มิตรประเทศที่ตั้งอยูนอกภูมิภาค หรือที่มีชื่อเรียกอยางเปนทางการวา ‘คูเจรจา’ (Dialogue Partners) ของอาเซียนอีกกวา 10 ประเทศหรือองคกรเลยทีเดียว

•  อาเซียนเริ่มมีความสัมพันธกับประเทศนอกกลุมเปนครั้งแรกกับ ‘สหภาพยุโรป’ ในป 2515 หรือประมาณ 5 ปภายหลังการกอตั้งอาเซียน จากนั้น อาเซียนก็มีเพื่อนเพิ่มมากขึ้นเปนลำดับ จนถึงปจจุบัน อาเซียนมีเพื่อนที่เรียกวา ‘คูเจรจา’ แลว จำนวน 9 ประเทศ กับ 1 องคกร ไดแก จีน ญี่ปุน เกาหลีใต สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด แคนาดา อินเดีย รัสเซีย และสหภาพยุโรป ดังที่ไดกลาวไปแลว นอกจากนี้ อาเซียนยังมีความรวมมือเฉพาะทางในบางสาขากับองคการสหประชาชาติและปากีสถาน รวมถึงกลุมภูมิภาคอื่นๆ เชน ความรวมมือของรัฐอาวอาหรับ (Gulf Cooperation Council – GCC)            ซึ่งเปนองคกรของประเทศที่มีน้ำมันเปนสินคาสงออกหลัก อันประกอบดวยบาหเรน กาตาร คูเวต โอมาน ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส  สมาคมความรวมมือแหงภูมิภาคเอเชียใต (South Asian Association for Regional Cooperation – SAARC) ซึ่งมีบังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย มัลดีฟส เนปาล ปากีสถาน และศรีลังกาเทศเปนสมาชิก

• เปาหมายในตอนแรกที่อาเซียนตองการมีเพื่อน คือ การขอใหเพื่อนที่มีสถานะที่ดีกวาใหความชวยเหลือทางดานการพัฒนาแกอาเซียน ดังนั้น ความสัมพันธระหวางอาเซียนกับเพื่อนๆ ในชวงแรกๆ ไมวาจะเปนกับสหภาพยุโรป ญี่ปุน หรือสหรัฐอเมริกา จึงอาจเรียกไดวาอยูในสถานะ ‘ผูใหกับผูรับ’ อยางไรก็ดี เมื่ออาเซียนเติบโตและมีระดับการพัฒนาที่ดีขึ้น ความสัมพันธกับเพื่อนไดคอยๆ เปลี่ยนจาก ‘ผูรับ’ มาเปนแบบ ‘หุนสวน’ ไมวาจะเปนหุนสวนดานการพัฒนา หุนสวนทางยุทธศาสตร  หุนสวนทางดานความมั่นคง รวมถึงการตอตานการกอการราย หรือหุนสวนทางเศรษฐกิจ โดยมีการประชุม           ในระดับตางๆ เปนกลไกการขับเคลื่อนความสัมพันธระหวางอาเซียนกับคูเจรจา ไมวาจะเปนการประชุมระดับรัฐมนตรีระหวางอาเซียนกับประเทศคูเจรจา ซึ่งจัดขึ้นเปนประจำทุกปในชวงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม หรือการประชุมระดับผูนำประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีน ญี่ปุน และเกาหลีใต            ที่เรียกวา ‘อาเซียน + 3’ ซึ่งจัดขึ้นเปนเปนประจำทุกปเชนกันในชวงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม

• ความสัมพันธระหวางอาเซียนกับเพื่อนๆ ในรอบเกือบ 40 ปที่ผานมา ไดกอใหเกิดผลในดานตางๆ มากมาย อาทิ การเสริมสรางความไวเนื้อเชื่อใจระหวางกันเพื่อปองกันขอพิพาทที่อาจมีขึ้น การที่ประเทศเพื่อนๆ ของอาเซียนใหความชวยเหลือทั้งดานการเงินและทางเทคนิกแกโครงการเพื่อการพัฒนาของอาเซียนโดยเฉพาะโครงการลดชองวางระดับการพัฒนาระหวางประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิมกับกัมพูชา ลาว พมาและเวียดนาม ซึ่งเปนสมาชิกที่เพิ่งเขารวมอาเซียนไดไมนานนัก รวมไปถึงความพยายามในการจัดตั้งเขตการคาเสรีรวมกันระหวางอาเซียนกับประเทศคูเจรจาหลายประเทศ ไมวาจะเปนกับจีน ญี่ปุน เกาหลีใต ออสเตรเลียและนิวซีแลนด หรือสหภาพยุโรป อันจะสงผลใหประชาชนโดยทั่วไปของอาเซียน รวมทั้งชาวไทย ไดใชสินคาที่มีคุณภาพดีในราคาที่ถูกลง

• ในตอนนี้ อาเซียนกำลังอยูในระหวางการจัดตั้ง ‘ประชาคมอาเซียน’ ภายในป 2558 เพื่อใหอาเซียนเปนสังคมที่เอื้ออาทรตอกัน ประชากรมีความมั่นคง มีระดับการพัฒนาและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้น การดำเนินความสัมพันธระหวางอาเซียนกับเพื่อนๆ ในอนาคตนั้น จึงจะเนนที่การประสานความรวมมือระหวางกันในกิจกรรมและโครงการที่สอดคลองกับเปาหมายการเปนประชาคมอาเซียน

ที่มา:http://asean.jsforeign.com/group

ใส่ความเห็น