กรุงฮานอย

กรุงฮานอย

ฮานอย (อังกฤษ: Hanoi; เวียดนาม: Hà Nội ห่าโหน่ย) เป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนาม มีประชากรประมาณ 4,100,000 คน (พ.ศ. 2547) ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือระหว่าง พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2519 และก่อนหน้านั้นเคยเป็นเมืองหลวงของพื้นที่เวียดนามในปัจจุบันเป็นครั้งคราวตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึง พ.ศ. 2345 ฮานอยตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำแดง อุตสาหกรรมในเมืองคือเครื่องจักร ไม้อัด สิ่งทอ สารเคมี และงานหัตถกรรม ฮานอยตั้งอยู่ที่ 21°2′ เหรือ 105°51′ ตะวันออก (21.0333, 105.85) [1]

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ได้มีการขยายเขตกรุงฮานอยไปอีก โดยครอบคลุมบริเวณมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า เพื่อรองรับการเติบโตของเมือง และเมื่อถึงเดือนตุลาคม 2553 ก็จะครบวาระ 1000 ปีการสถาปนาเมือง

ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2

ดอกไม้ประจำชาติ

ดอกไม้ประจำชาติ ของ10ประเทศอาเซียน

เหลือเวลาอีกเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น การรวมตัวกันของประชาคมอาเซียน 10 ประเทศ ก็จะเริ่มต้นขึ้นแล้ว (พ.ศ.2558) เพื่อผนึกกำลังในการพัฒนาแต่ละประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีประเทศไทยกับเขาด้วย วันนี้ กระปุกดอทคอม จึงมีข้อมูลเบา ๆ เกี่ยวกับดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของชาติอาเซียนในแต่ละประเทศมาฝากกันเพื่อเพิ่มเติมความรู้ ว่าแต่จะมีดอกไม้อะไรบ้าง อย่ารอช้ารีบไปดูกันเลย..

อ่านเพิ่มเติม

– ประเทศ พม่า –

พม่า (Myanmar)

ธงชาติ

ตราแผ่นดิน

แผนที่

ชื่อทางการ : สหภาพพมา (Union of Myanmar)

ที่ตั้ง :ตั้งอยูjที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ  ภูมิประเทศตั้งอยูjตามแนวอjาวเบงกอลและทะเลอันดามันทำใหhมีชายฝyjงทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์

– ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบตและจีน

– ทางตะวันออกติดกับลาว

– ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดกับไทย

– ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศและอินเดีย

– ทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล

พื้นที่ :676,577 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เทาของไทย)

เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw) (ภาษาพม่า) หรือบางครั้งสะกดเป็น เนปีตอ (Nay Pyi Taw) (มีความหมายว่า มหาราชธานี)  เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้งตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548  ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเป็ยนมานา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลยี  สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ  เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง  ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง  เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร  ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ  เมืองนี้เริ่มมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ บ้างแล้ว เช่น อพาร์ตเมนท์  ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย  เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคน แต่เมืองหลวงแห่งนี้ ยังไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล เปรียบเสมือนเมืองทหาร ซึ่งกำลังก่อสร้างต่อไป

ศาสนา : ศาสนาพุทธ (พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517) ร้อยละ 90  ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5  ศาสนาอิสลามร้อยละ 3.8  ศาสนาฮินดูร้อยละ 0.05

สกุลเงิน : จ้าด (Kyat : MMK)

อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 25 จ้าดต่อ 1 บาท หรือประมาณ 1,300 จ้าดต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (มิถุนายน 2549)

ระบอบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร  ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใตสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC)

* ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (ประมุขประเทศ) คือ

พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe) (เมษายน 2535)

* นายกรัฐมนตรี (หัวหน้ารัฐบาล) คือ พล.อ.เทียน เส่ง (Gen. Thein Sein) นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของพม่า (พ.ศ. 2550)

ที่มา : www1.mod.go.th/admm/aseancountry_thai.pdf

หลวงพระบาง

หลวงพระบาง

หลวงพระบางเป็นเมืองเก่าแก่ของอาณาจักรล้านช้าง ตั้งแต่สมัยสถาปนาอาณาจักร ซึ่งแต่เดิมมีชื่อว่าเมืองซวา (ออกเสียงว่า ซัว) และเมื่อ พ.ศ. 1300 ขุนลอ ซึ่งถือเป็น ปฐมกษัตริย์ลาวได้ทรงตั้งเมืองซวาเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างและได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่าเชียงทอง

เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ. 1896 – พ.ศ. 1916) เสด็จกลับจากกัมพูชา อันเนื่องจากพระองค์และพระบิดาต้องเสด็จลี้ภัยเพราะถูกขับไล่จากกษัตริย์องค์ก่อน ซึ่งแท้จริงก็คือพระอัยกาของเจ้าฟ้างุ้มนั่นเอง เจ้าฟ้างุ้มทรงรวบรวมกำลังขณะอยู่ในเสียมเรียบ และนำกองทัพนับพันกำลังเพื่อกู้ราชบัลลังก์กลับคืน และสถาปนาอาณาจักรขึ้น ต่อมาในสมัยพระโพธิสารราชเจ้าพระองค์ได้อาราธนาพระบางซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงคำ ขึ้นมาประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงทองอันเป็นนครหลวง เมืองเชียงทองจึงถูกเรียกว่า หลวงพระบาง นับแต่นั้นมา

หลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือ มีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรือนอันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมน้ำโขงและน้ำคาน ซึ่งไหลบรรจบกันท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และชาวหลวงพระบางมีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร และมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงาม

ซึ่งตรงกับเกณฑ์พิจารณาของยูเนสโกดังนี้

  • (ii) – เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iv) – เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • (v) – เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตาม กาลเวลา

ในขณะที่มรดกโลกแห่งอื่นอาจได้ขึ้นทะเบียนอย่างจำเพาะเจาะจงในโบราณสถาน ธรรมชาติ แต่หลวงพระบางทั้งเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87

เมอร์ไลออน

 

เมอร์ไลออน

เมอร์ไลออน หรือ สิงโตทะเล (鱼尾狮; พินอิน: Yúwěishī หยูเหว่ยซือ) ถูกออกแบบขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมการการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ (Singapore Tourism Board – STB) ในปี 1964 – รูปปั้นนี้มีหัวเป็นสิงโต ร่างเป็นปลา ยืนอยู่บนยอดคลื่น ต่อมาไม่นานทั่วโลกก็ถือกันว่าสิงโตทะเลตัวนี้คือเครื่องหมายประจำชาติสิงคโปร์[1]

แต่เดิมรูปปั้นนี้ตั้งอยู่ที่สวนสิงโตทะเล (Merlion Park) ข้างๆสะพานเอสพลาเนด (Esplanade Bridge) แม่สิงโตและลูกสิงโตได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว มีการจัดพิธีติดตั้งสิงโตทะเลในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1972 โดยมีประธานในพิธีคือนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ณ เวลาดังกล่าว ซึ่งก็คือ นายลี กวน ยู

สิงโตตัวนี้สูง 8.6 เมตร มีน้ำหนัก 70 ตัน ทำจากวัสดุจำพวกซีเมนต์ โดยช่างฝีมือชาวสิงคโปร์ผู้เสียชีวิตไปแล้วที่ชื่อนายลิมนังเซ็ง ส่วนรูปปั้นสิงโตทะเลตัวที่สองจะมีขนาดเล็กกว่า ขนาดสูง 2 เมตรและหนัก 3 ตัน ก็ถูกสร้างขึ้นโดยนายลิมเช่นกัน ตัวสิงโตทำจากวัสดุจำพวกซีเมนต์ ผิวหนังทำจากแผ่นกระเบื้อง และตาทำจากถ้วยชาสีแดงขนาดเล็ก

ผู้ออกแบบคือนายฟราเซอร์ บรูนเนอร์ (Mr Fraser Brunner) เป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแวนคลีฟ หัวรูปปั้นเป็นสิงโตหมายถึงสิงโตที่เจ้าชายซางนิลาอุตามะเคยเห็นตอนที่พระองค์พบเกาะสิงกะปุระในปี ค.ศ. ที่ 11 ตามบันทึกของชาวมาเลย์ ส่วนหางที่เป็นปลาคือสัญลักษณ์ของเมืองโบราณเทมาเซ็ค (หมายความว่า “ทะเล” ในภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งสิงคโปร์ถูกค้นพบมาแล้วก่อนที่เจ้าชายนิลาจะตั้งชื่อเกาะนี้ว่า “สิงกะปุระ” (หมายความว่า “สิงโต” (สิงห์) และ “เมือง” (ปุระ) ในภาษาสันสกฤต) นอกจากนี้ยังหมายถึงจุดเริ่มต้นอันต่ำต้อยของสิงคโปร์ที่ในอดีตเคยเป็นหมู่บ้านชาวประมง

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99